อาหารถวายพระ ได้บุญ เกื้อหนุนสุขภาพ

** อาหารถวายพระ ได้บุญ เกื้อหนุนสุขภาพ **

     เนื่องในวันอาสาฬบูชาและเข้าพรรษา ที่จะเวียนมาบรรจบครบรอบ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ จะนิยมไปทำบุญตักบาต เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิตและครอบครัว วันนี้เราเลยมีข้อชวนให้คิด มาบอกกล่าวในเรื่องของเมนูอาคาร ที่นำมาทำบุญตักบาตรเพราะพระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารตามที่ต้องการได้ ต้องฉันตามที่พุทธศาสนิกชนนำมาถวาย ซึ่งเมนูส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมัน และกะทิ ที่ให้พลังงานสูง มากเกินความต้องการของร่างกาย ก่อให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกิน เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจากข้อมูลพบว่า 5 โรคที่พระสงฆ์เจ็บป่วย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง และโรคปอด สาเหตุมากจาการฉันอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ประกอบกับสถานภาพของพระสงฆ์ ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดดรคมากขึ้น และเพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ เราลองปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารที่จะถวายพระ เน้นให้เป็นเมนูสุขภาพ ซึ่งเรามีรายละเอียดมาฝากกัน ดังนี้

     1. เสริมข้าวกล้อง ข้าวกล้องมีประโยชน์ต่อหัวใจ ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ช่วยระบบขับถ่ายและอุดมไปด้วยวิตามินบี เนื่องจากในข้าวกล้องมีสารเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวถึง 3-7 เท่า

     2. เสริมผักและผลไม้ให้หลากหลายชนิด เพราะผักและผลไม้ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ในผักมีกากใยอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น นอกจากนี้ควรเพ่ิม ผลไม้ที่มีรสหวานน้อย อย่างเช่น มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล และสาลี

     3. เสริมเนื้อปลา ปลาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ถือเป็นอาหารสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง ซึ่งเมนูปลาสามารถปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ ปลาผัดขึ้นฉ่าย ปลานึ่งมะนาว ยำปลาสลิด เมี่ยงปลาทู เป็นต้น

     4. ปรับเมนูของคาวและหวาน ที่มีส่วนผสมจากกะทิ เป็นเมนูสุขภาพด้วยการใช้สูตรกะทิครึ่งส่วน ผสมกับนมครึ่งส่วน ซึ่งจะได้สุขภาพดีโดยไม่เสียรสชาติอาหาร มีคุณค่าและแคลเซียมสูง แต่สำหรับประสงฆ์ที่ไม่สามารถฉันนมวัว สามารถใช้นมถ้่วเหลืองแทนได้

     5. เลือกสรรน้ำปานะ หรือเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาความหิวขณะท้องว่าง ควรมีปริมาณน้ำตาลน้อยและมีโปรตีนอยู่ด้วย อย่างเช่น นมถั่วเหลือง นมวัว ทั้งนี้ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ รสจืด หรือหวานน้อย

     6. ควรลดปริมาณการปรุง ลดเค็ม ลดมัน รสชาติไม่จัดจ้าน ลดการปรุงด้วยน้ำปลา เกลือ น้ำไตปลา ปลาร้า รวมถึงควรใช้น้ำมันในปริมาณที่น้อย หรือเปลี่ยนเป็นกรรมวิธีต้ม อบ ตุ๋น นึ่งแทน

     การทำบุญตักบาตร เป็นการสานต่อศาสนกิจในพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนิกชนอิ่มเอิมใจ แต่ควรพึงระลึกว่าพระสงฆ์เลือกอาหารที่จะฉันเองไม่ได้ เราต้องคำนึงและใส่ใจเมนูอาหารของพระสงฆ์แทนให้ ด้วยการเสริมข้างกล้อง เสริมผัก เสริมอาหาร เสริมนม เลือกสรรน้ำปานะ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อส่งเสริมและเอื้อให้พระสงฆ์ที่มีสุขภาพร่างกายที่ดีอย่างยั่งยืน

"พระสงฆ์ สุขภาพดี ไม่มีโรคภัย พุทธศาสนิกชนสุขใจ ได้ทำบุญ"

*********************

Attachments:
Download this file (122_28061904610.pdf)122_28061904610.pdf[ ]37 Kb

โทร. 081-944-0528

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ









โทร. 081-9815214







mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้649
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้1838
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3694
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว7908
mod_vvisit_counterเดือนนี้649
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว26516
mod_vvisit_counterทั้งหมด216222

We have: 3 guests online
IP: 52.15.112.69
วันนี้: พ.ค. 01, 2024



























 























QR Code
เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน


แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ลิขสิทธิ์ © 2563 เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน จังหวัดสุพรรณบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
เทศบาลตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0-3552-8377